ปราสาทหินพนมรุ้ง
Prasat Hin Phanom Rung
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือปราสาทหินพนมรุ้ง หนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บน เขาพนมรุ้งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง)
คำว่า "พนมรุ้ง" นั้นมาจากภาษาเขมร คำว่า "วนํรุง" แปลว่าภูเขาใหญ่ ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ สร้างขึ้นโดยมีรูปแบบของศิลปะเขมรโบราณที่มีความงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่ง ความงดงามและความยิ่งใหญ่ ของปราสาทแห่งนี้ปรากฏให้เห็นได้ในรูปของงานสถาปัตยกรรม การจำหลักลวดลายการเลือกทำเลที่ตั้งบนยอดเขามีแผนผัง ตามแนวแกนที่มีองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ เรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือ ปราสาทประธาน จากงาน ก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่นี้ชวนให้เกิดความสงสัยและอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าคนในสมัยโบราณสร้างปราสาทหลังนี้ขึ้นมาได้อย่างไร
ปัจจุบันปราสาทหินพนมรุ้งกำลังอยู่ในเกณฑ์กำลังพิจารณาเป็นมรดกโลก เช่นเดียวกับปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา
ปราสาทหิน พนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์และ
ถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์
รวมถึงเป็นภาพพื้นหลังตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดอีก
ปราสาทหินพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวะซึ่งนับถือพระศิวะ
เป็นเทพเจ้าสูงสุดเพื่อเป็นเทวาลัยที่ประทับของพระศิวะ พระองค์ที่ประทับอยู่บน
ยอดเขาไกรลาส ดังนั้นการที่ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นบนยอดเขาพนมรุ้ง
จึงเป็นการสะท้อนถึงการนับถือ ศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายได้เป็นอย่างดีเขาพนมรุ้ง
จึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ องค์ประกอบและแผนผังของ
ปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง
และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาทประธาน ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่าพลับพลาอาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกัน ในปัจจุบันว่าพลับพลาเปลื้องเครื่องซึ่งเป็น ที่พักจัด เตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้าหรือประกอบ พิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน